จัดฟันเด็ก เริ่มได้ตอนลูกกี่ขวบ เรื่องสุขภาพปากและฟันของคนเราเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในสมัยนี้เราจะพบว่ามีเด็กและวัยรุ่นหลายคนที่นิยมจัดฟันจนดูเหมือนทำตามแฟชั่น ทั้งที่จริงแล้วการ “จัดฟันเด็ก” เป็นไปเพื่อแก้ไข้การสบฟันที่ผิดปกติของเด็ก พ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าสภาพฟันแบบไหนที่จะเข้าข่ายมีปัญหา ลูกเราฟันเหยินหรือฟันเกหรือเปล่า สมควรได้รับการจัดฟันหรือไม่ แม้แต่ว่าควรให้ลูกจัดฟันตอนกี่ขวบดี ติดตามบทความของวันนี้เลยค่ะ จะได้ทราบเรื่องราวของการจัดฟันสำหรับเด็กมากขึ้น
แบบไหนที่เรียกว่าฟันเหยิน?
ฟันเหยิน คือ ภาวะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากไม่มีอาการมากจนเกินไป โดยอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือสาเหตุอื่นๆ เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะหรือฟันผิดปกติ
อาการฟันเหยินจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งอาจสังเกตได้จากรูปหน้าที่ผิดปกติ เช่น หน้าสั้น หน้ากว้าง หน้าอูม มีร่องใต้คาง เป็นต้น รวมทั้งอาจเห็นเหงือกขณะยิ้มหรือพูด พูดไม่ชัดเจน กัดหรือเคี้ยวอาหารลำบาก ส่วนลักษณะที่ปรากฏในช่องปาก ได้แก่ ฟันบนสบคร่อมฟันล่าง ส่วนโค้งบริเวณเพดานปากตื้น มีร่องซึ่งเกิดจากฟันหน้าล่างสบกับเพดานปาก หรือฟันหน้าล่างซ้อนเก
ฟันเกต่างจากฟันเหยินอย่างไร?
ฟันเก คือ อาการที่ฟันไม่ได้เรียงตามแนวปกติส่งผลให้ทำความสะอาดช่องปากได้ยาก อาจทำให้พูดไม่ค่อยชัด ฟันเกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยมีขากรรไกรบนและล่างไม่เท่ากัน หรือลักษณะช่องปากของผู้ป่วยเล็กจนทำให้ฟันที่ขึ้นมานั้นเบียดกัน ส่วนใหญ่ฟันเกเกิดจากลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้
อาการฟันปรากฏให้เห็นได้จากรูปลักษณะ เช่น การเรียงตำแหน่งที่ผิดปกติของฟันหรือความผิดปกติของลักษณะใบหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจ นอกจากนี้ อาจมีอาการเคี้ยวหรือกัดไม่ถนัด หรือพูดไม่ค่อยชัดร่วมด้วย
ทำความรู้จักกับการสบฟันแบบต่างๆ
1. Underbite – ฟันล่างคร่อมฟันบน คางยื่น ฟันไม่สามารถสบฟันได้
Misalignment – ฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ
Crossbite – ฟันสบคร่อม เพราะขากรรไกรบนมีขนาดเล็กกว่าขากรรไกรล่าง
Crowding – ฟันไม่สามารถขึ้นได้เนื่องจากขากรรไกรเล็ก
Gaps – ฟันห่าง
Deepbite – ฟันหน้าสบลึก
Openbite – ฟันหน้าบนสบเปิด
Overbite – ฟันหน้าบนสบยื่น
การจัดฟันเด็กสามารถทำได้หรือไม่?
การให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันนั้นมีหลายช่วงอายุ ซึ่งต้องพิจารณาตามความผิดปกติและพัฒนาการของกะโหลกศีรษะและใบหน้าร่วมด้วย โดยมีแนวทางพิจารณาดังนี้ หากมีความผิดปกติของความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบน-ล่าง ก็ควรจะเริ่มการบำบัดรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาลุกลาม
เราจะเห็นได้ว่าการจัดฟันเพื่อแก้บางปัญหาสามารถทำได้ตั้งแต่ในเด็ก ไม่ต้องรอฟันน้ำนมหลุดหมดก่อนหรือรอจนฟันแท้ขึ้นครบ การรักษาตั้งแต่เริ่มแรกอาจจะทำให้ใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่า แล้วยังไม่ยุ่งยาก ลดค่าใช้จ่าย และได้ผลการรักษาที่ดีและยั่งยืน
พ่อแม่ต้องมองหาสัญญาณของความผิดปกติ
การจัดฟันในเด็กตามช่วงอายุ
1. วัยเด็กเล็ก (ระยะฟันน้ำนม) เป็นวัยที่ยังไม่สามารถให้ความร่วมมือได้ดี จึงยังไม่ควรจัดฟัน แต่พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของฟันลูก
2. วัยเด็ก (ระยะชุดฟันผสม) เป็นระยะที่ฟันหน้าและฟันกรามถาวรซี่แรกขึ้นเรียบร้อยแล้ว สมควรจัดฟัน เพื่อแก้นิสัยหรือความผิดปกติที่เกิดจากขากรรไกร โดยใช้เครื่องมือชักนำและปรับเปลี่ยนทิศทางการเจริญเติบโตของขากรรไกร
3. วัยรุ่น (ระยะฟันถาวร) เป็นระยะที่ฟันถาวรทุกซี่ยกเว้นฟันกรามซี่ที่ 3 ขึ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะที่เหมาะสมในการจัดฟันเพื่อแก้ไขตำแหน่งฟันและการสบฟันที่ผิดปกติ
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสมควรปรึกษาแพทย์เรื่องจัดฟัน?
พ่อแม่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าควรมองหาสัญญาณอะไรบ้างที่บ่งชี้ว่าลูกควรไปพบทันตแพทย์จัดฟัน นี่คือรายการของสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต โปรดจำไว้ว่าแม้ว่าลูกจะไม่แสดงอาการใดๆก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรนัดพบทันตแพทย์ตามเวลาสม่ำเสมอ
1. ลูกมีฟันเกฟันซ้อนหรือไม่?
สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดที่บ่งบอกว่าลูกต้องการใช้เครื่องมือจัดฟันคือฟันที่งอกทับซ้อนกัน และอาการฟันล่างครอบฟันบนกับฟันเหยิน รวมถึงฟันที่ขึ้นมาอย่างคดงอและขึ้นมาแบบเบียดกันจนแออัดเกินไป
เครื่องมือจัดฟันสำหรับเด็กสามารถช่วยจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาการสบฟันของเด็ก และยังสามารถดึงฟันเข้าด้วยกันหากจำเป็นต้องถอนฟันออกเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของฟัน
2. ฟันน้ำนมของลูกหลุดเร็วไปหรือไม่?
การสูญเสียฟันน้ำนมในช่วงแรกอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือจากการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย เมื่อฟันแท้ไม่พร้อมที่จะขึ้นมาเติมเต็มช่องว่าง ฟันจึงเคลื่อนที่เพื่อเติมเต็มช่องว่างด้วยตนเอง
หากสิ่งนี้เกิดขึ้นกับฟันของลูกของ แพทย์จะต้องใช้เครื่องมือจัดฟันเพื่อป้องกันฟันแท้ของพวกเขาไม่ให้ขึ้นมาแบบคดงอหรือขึ้นมาแบบบทับซ้อนกัน
3. ลูกชอบดูดนิ้วหรือไม่?
หากลูกยังไม่ถึงอายุก่อนวัยเรียน มันก็ยังเป็นที่ยอมรับได้ที่เด็กจะยังคงดูดนิ้วหัวแม่มืออยู่ ในทางตรงกันข้ามถ้าลูกอายุมากกว่า 4 หรือ 5 ปี แต่ยังมีพฤติกรรมติดดูดนิ้วหัวแม่มือ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพาลูกไปพบทันตแพทย์
การดูดนิ้วหัวแม่มือเป็นระยะเวลายาวสามารถผลักฟันออกจากแนว และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกระดูกขากรรไกรของเด็ก เครื่องมือจัดฟันสามารถช่วยดึงฟันกลับเข้าที่ได้
4. ฟันของลูกทำความสะอาดยากหรือเปล่า?
หากฟันของเด็กทับซ้อนกันในลักษณะที่ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด ลูกอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์จะสังเกตเห็นจุดบอดลูกของคุณไม่สามารถทำความสะอาดฟันได้อย่างถูกต้อง ถ้าเป็นเช่นนั้น เขาอาจแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่นัดกับทันตแพทย์จัดฟัน เพราะการดูแลทำความสะอาดฟันที่เหมาะสมสามารถป้องกันโรคเหงือกและฟันผุได้